อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ
เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ
และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี
ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้อ่านเพิ่มเติม
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บทที่3 นิทานเวตาล
ความเป็นมา
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง
และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก
1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10
เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461อ่านเพิ่มเติม
บทที่4 นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์
ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์
"และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ
นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง
ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง
มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้
เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี
และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย อ่านเพิ่มเติม
บทที่5 หัวใจชายหนุ่ม
นวนิยายเรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึง การแต่งงานของคนหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกับเพียงแต่เปลือกนอก ขาดการรู้จัก และ เข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืน และ จบลงอย่างง่ายดาย ส่วนเรื่องของแม่อุไรนั้น ชี้ให้วัยรุ่นสมัยใหม่รู้จักการใช้เสรีภาพในทางที่ถูกต้อง ไม่ปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามอ่านเพิ่มเติม
บทที่ 6 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง
ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
บทที่7 มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)